เหรียญขี่เมฆ หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย ปี37



เหรียญขี่เมฆ หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย  ปี37
ราคา 500 บาท พร้อมเช่า 
โทร 0912031829  ตะวัน
ประวัติ หลวงปู่พรหมมา

เรื่องหลวงปู่พรหมา เขมจาโรที่ได้มีวาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์ท่านให้ฟังทั้งหมด

เอาแบบไม่ปิดบังอำพราง,เล่าทุกแง่ทุกมุม เท่าที่จะนึกออกและยังจำได้


ตั้งแต่แรกเลย





เครื่องดื่มเตรียมไว้ให้แล้ว

น้ำอัดลมหรือไม่อัดลมมีพร้อม เชิญเลือกบริการตนเองตามสบาย

ถ้าหิวก็โน่น..ข้าวหม้อแกงหม้อง่ายๆกันเอง เชิญตักตามสะดวก

ถ้าฟังแล้วง่วงก็หยิบหมอนกับเสื่อไปปูนอนตรงมุมศาลาตามอัธยาศัย

อย่ากรนเสียงดังรบกวนคนอื่นเขาล่ะ


ระหว่างเล่าใครมีข้อสงสัยให้ถามได้ไม่ต้องเกรงใจ

ถ้าจะขัดคอให้ยกมือก่อนจะได้หยุดเล่าแล้วรอฟังด้วยกัน


ถ้าเล่าไปหลงลืมอะไรไปมั่งก็ท้วงติงด้วย

เดี๋ยวเรื่องมันจะโดดหน้าโดดหลังกลับหัวกลับหางวุ่นวาย


เดี๋ยวนะ ขอไปเข้าห้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขสักแป๊บนึง


นั่งคุยกันรอกันไปก่อน


เดี๋ยวมา





พิจารณาอาหาเรปฏิกูลนานไปหน่อย

อาหารเก่าออกไปอาหารใหม่เข้ามา อีกไม่ช้าอาหารใหม่ที่เพิ่งกินไปแหม่บๆก็จะกลายเป็นอาหารเก่า

อาหารที่สะอาดมาต้องกายสกปรกของเราเข้าก็เน่าสกปรกไปด้วยอย่างนี้แล

พิจารณาอยู่ฉนี้ชักจะรู้สึกตนว่าเริ่มเห็นแสงแห่งธรรม


แต่พอเหลือบเห็นขาหมูของเจ๊ฮวงตลาดวารินฯเข้า

เกิดอาการทนไม่ไหว

ปรี่เข้าไปตักมาพิจารณาอีกจาน


ทีนี้ว่ากันแบบปรมัตถ์

ปลงทรากอสุภไปด้วยเสียเลย

ถอดหนัง ไขมัน เนื้อ เอ็น กระดูก จนเห็นชัดกระจ่างแจ้งแทงตลอด

เห็นลึกล้ำเข้าไปในสกลสังขารว่ามันก็เป็นแบบนี้แหละหนอ

ลงได้ลอกหนังอันสวยงามออกเมื่อไหร่ ข้างในก็เป็นเหมือนกันทุกตัวทุกคน


ปลงจนหมดเกลี้ยงทั้งจานแล้วเกิดไม่แน่ใจตนเองขึ้นมาซะอีก

กลัวว่าจะลืมความรู้ที่เพิ่งจะได้มาจากการปลดปลงไปหมาดๆ

ต้องตักขาหมูเจ๊ฮวงมาปลงอีกรอบกันลืมอีกสักจานดีกว่า


เฮ้อ..!


ตอนนี้นึกเชื่อแล้วล่ะครับว่าพระนิพพานของใครสักคนนั้นมันยากเย็นแสนเข็ญ

สมควรที่จะก้มลงกราบให้หน้าผากจรดดิน

แทบเท้าของผู้ที่ท่านถึงซึ่งพระนิพพานอย่างแท้จริงโดยไม่สงสัยในคุณค่าแห่งพระนิพาน


ทุกคนตอนนี้เป็นไง..อิ่มหมีพีมันกันแล้วใช่ไหม

งั้นก็เอาล่ะ

พร้อมจะฟังพร้อมจะเล่ากันแล้ว จะรีรออะไรอีก


แต่จะต้องตกลงกันก่อน

ว่าต่อไปนี้จะเป็นแค่เรื่องเล่า ไม่ใช่เรื่องที่จะตั้งใจเขียนเพื่อต่อไปจะให้เป็นหลักให้ค้นคว้าหรืออ้างอิง

เล่าก็คือเล่า

เหมือนเล่าสู่กันฟังเล่นๆง่ายๆกันเอง

ซึ่งแน่ล่ะว่าจะไม่มีเวลาตรวจสอบค้นหาข้อมูลในส่วนที่เป็นตัวเลข วัน เดือนและปี

อีกทั้งยังอาจลืมชื่อสถานที่ ชื่อบุคคล และอาจจะลืมอะไรได้อีกหลายอย่างก็ต้องขออโหสิกันล่วงหน้า


ระหว่างที่กำลังเล่า อนุญาตให้สอดแทรกคำถามที่เกิดสงสัยในขณะนั้นได้ทุกคน

ไม่ต้องเกรงใจ

ช่วยกันถามได้แหละดี เพราะว่าเรื่องเล่าแบบนี้มีเกร็ดสนุกเยอะ

ถ้าไมมีการดักไม่มีการตอดคำถามกันไปเรื่อยๆ

คนเล่าอาจโดดข้ามบางเรื่องไปแน่ๆน่าเสียดาย


คอก็ชักแห้ง

ขอไปกินน้ำก่อน..เดี๋ยวมา





ถึงกับจะเป็นลมเป็นแล้งกันเชียว

เอ้าๆ

เล่าแล้วๆ


เริ่มตรงไหนดีล่ะ

เอาตรงนี้แล้วกัน

ตรงพระครูเทพโลกอุดรนี่แหละ


ตอนนั้นน่าจะเป็นช่วงกลางปี2533 ผมเพิ่งย้ายออกจากกรุงเทพกลับไปอยู่อุบลฯ

แต่ยังไปๆมาๆระหว่างกรุงเทพ-อุบลฯทุกบ่อย

คราวหนึ่งได้สนทนากับเพื่อนนักเขียนที่กอง บก.ศักดิ์สิทธิ์

เขาเอ่ยอย่างอวดรู้อยู่2เรื่อง

เรื่องแรกเขาบอกว่าหลวงพ่อชาไม่มีวัตถุมงคล

เรื่องที่สองเขาอ้างว่าพระครูเทพโลกอุดรกับสำเร็จลุนเป็นคนเดียวกัน


จึงเป็นเหตุให้ผมต้องลงมือโต้แย้งด้วยข้อเขียน

ลงในหนังสือศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับเรื่องวัตถุมงคลที่มีอยู่ของหลวงพ่อชา

จนเดี๋ยวนี้ข้อเขียนนั้นได้รับการยอมรับทั่วไปและถูกนำไปใช้อ้างอิงตลอดมาจนปัจจุบัน


ส่วนเรื่องพระครูเทพโลกอุดรกับสำเร็จลุนผมไม่ได้เขียนโต้แย้งแต่อย่างใด

แม้จะตั้งใจเต็มที่ว่าเขียนแน่


เกิดเหตุให้เปลี่ยนใจไม่เขียนขึ้นมาซะเฉยๆ


ขณะที่ยังมีความตั้งใจเต็มเปี่ยมว่าจะเขียนโต้แย้งนั้น ได้ออกสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับสำเร็จลุนนานเดือน

เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าสำเร็จลุนก็คือสำเร็จลุน ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับพระครูเทพโลกอุดรแม้แต่น้อย

สำเร็จลุนมีตัวมีตน มีที่เกิดที่ตายแน่ชัด จะเป็นคนเดียวกันกับพระครูเทพโลกอุดรได้ยังไงมองไม่เห็นทาง

ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวว่าใครเป็นลูกศิษย์หรือเคยพบสำเร็จลุนอยู่ที่ไหน

เป็นดั้นด้นออกไปหา

ไม่ว่าจะใกล้ไกลสักแค่ไหนไปหมด

ไปโดยที่ไม่่รู้ด้วยซ้ำว่าคนเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

เสี่ยงไปหาทุกคนทุกที่อย่างทรหดอดทน


ผลปรากฏว่าเหลว


คนเหล่านั้นล้วนเสียชีวิตไปหมดแล้ว


หวุดหวิดจะได้การอยู่คนหนึ่ง,คือหลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาร นายูง อุดรฯ

พอไปถึงวัดท่านเท่านั้น เขาก็บอกว่าเพิ่งเผาท่านไปเมื่อ3วันที่แล้ว


หมดท่าเหมือนคาวบอยตกม้า


แทนที่จะได้เรื่องได้ของสำเร็จลุน กลับได้อัฐิของหลวงปู่เครื่องมาแทน


อัฐิชิ้นนั้นผมมอบให้ใครก็ไม่รู้

เอาไปบรรจุใส่ไว้ในเจดีย์หรือฐานพระประธานวัดไหนก็ไม่จำ


การเดินทางดิ้นรนไปค้นหาตัวผู้ที่ทันสำเร็จลุน

เพื่อจะหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์ท่านตลอดเวลาหลายเดือนนั้น

ผู้ร่วมเดินทางด้วยกันบ่อยๆมี2ท่านคือ เฮียบัติกับอาจารย์เวทย์ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเด็กวัยรุ่นที่เพิ่งสึกออกมาจากสามเณร


เพราะมุ่งมั่นจะสืบสาวราวเรื่องสำเร็จลุนจึงเป็นเหตุให้ได้พบหลวงปู่พรหมา


ช่วงกำลังหมดหวังและเว้นวรรคภารกิจที่ล้มเหลว

มีใครคนหนึ่งที่ผมก็ไม่จำอีกเหมือนกัน ได้ส่งข่าวว่า พอแสง บ้านท่าบ่อ เป็นคนแก่อายุใกล้ๆ80เคยพบสำเร็จลุน

เกิดแรงใจแรงกายขึ้นมาอีก


พ่อแสงที่ว่านี้ก็อยู่ไม่ไกลจากบ้านสักเท่าไหร่(ไม่เกิน12 กม.)


พอไปขอพบและสนทนา ปรากฏว่าพ่อแสงไม่เคยพบสำเร็จลุนแต่อย่างใด

เคยแค่อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับหลวงปู่ดีโลด วัดทุ่งศรีเมือง(พระครูวิโรจน์รัตโนบล)

จะคาบเกี่ยวไปถึงสำเร็จลุนอยู่บ้าง

ก็ตรงที่พ่อแสงอ้างว่าหลวงปู่ดีโลดได้บอกกับพ่อแสงในวันหนึ่งว่า


"ถ้าเจ้าอยากได้ดีได้เด่นกว่านี้ ให้ไปหาเณรแก้ว เณรคำ"


พ่อแสงซึ่งเวลานั้นยังหนุ่มก็ออกดั้นด้นหาเณรแก้วเณรคำซึ่งเป็นศิษย์สำเร็จลุนไปทั่ว ทั้งฝั่งลาวฝั่งไทย ตลอดแนวแม่น้ำโขง

ไม่เคยพบเณรแก้ว

แต่อ้างว่าได้พบเณรคำที่ไหนสักแห่งในเขตจังหวัดหนองคาย

คลับคล้ายว่าจะเป็นถ้ำบนภูเขาในเขตอำเภอบ้านแพง


ไม่ได้เรื่องอีกเหมือนกัน


ต่อมาเพื่อนอีกคนชื่อสุรพล ปทุมวงศ์(ทำงานธนาคารกรุงเทพ)มาบอกว่า ที่บ้านดูนมีพ่อจารย์บัน รู้เรื่องสำเร็จลุนดีมากน่าไปคุยดู


ผมก็รีบไปหาและขอคุยด้วย


พ่อบันเป็นผู้ที่มีลักษณะพิเศษ คือเป็นฆราวาสที่ปฏิบัติตนเหมือนฤาษี พำนักอยู่บ้านดูน บนเส้นทางสายอุบลฯ-ตระการพืชผล


พบกันใหม่ๆไม่ทันจะคุ้น พ่อบันก็ออกอาการสำรวมระวังไม่ค่อยพูดค่อยจา

ถามอะไรก็บ่ายเบี่ยงเลี่ยงหลีก

เลยไม่แน่ใจว่าจะรู้เรื่องสำเร็จลุนจริงดังเพื่อนว่าหรือไม่


พอดีเหลือบไปเห็นรูปพระภิกษุชราใบเล็กๆใส่กรอบเก่าๆวางอยู่บนหิ้ง

ภาพภิกษุชรานั้นดึงดูดความสนใจผมอย่างบอกไม่ถูก


ถามไถ่ก็ได้ความว่าท่านเป็นพระอยู่ในเขาริมแม่น้ำโขง

เป็นพระที่ข้ามมาจากฝั่งลาว


ครั้นซอกแซกจะเอารายละเอียดเพิ่มเติมก็บ่ายๆเบี่ยงๆไม่ค่อยจะยอมบอกยอมพูด


คงบอกแค่ชื่อว่าหลวงปู่พรหมา


บังเอิญมีลูกศิษย์พ่อบันเป็นหญิงชาวบ้านอายุราวๆ50กว่า ได้ถือโอกาสเล่าแทรกขึ้นมาว่า

"หลวงปู่พรหมานี้เก่งหลาย"
"เก่งยังไง"
"ลูกชายข้อยถูกเขาเหยียบอกยิงไม่ตาย"
"ฮ้า..จริงเรอะ"
"จริงซิ"
"แน่นะ"
"อ๋อแน่ซิ"


อ้าวๆจะเลี้ยวเข้าห้องฟังเพลงร้องคาราโอเกะซะแล้ว


หญิงชาวบ้านเล่าเพิ่มเติมว่า ลูกชายจะไปเที่ยวงานวัดหมู่บ้าน ปู่ก็เรียกไปหาแล้วเอาตะกรุดให้คาดเอวไปดอกหนึ่ง

ไปมีเรื่องวิวาทกันกับกลุ่มวัยรุ่นพันธุ์ดุ ชกต่อยกันจนล้มลง คนหนึ่งในกลุ่มอริเข้ามาเหยียบหน้าอกไว้ แล้วยิงด้วยปืน2นัด

นัดแรกไม่ออก นัดที่สองออก กระสุนทะลุหนังตรงหัวไหล่ขวาด้านหน้า แต่กระสุนไม่ทะลุผ่าน กลับมุดใต้หนังอ้อมไปทะลุออกข้างหลัง

รูเข้ากับรูออกตรงกัน แต่กระสุนไม่ทะลุผ่าน

นับว่าแปลกมาก


"แล้วตะกรุดนั่นน่ะของใคร"
"ของปู่ข้อยสิ"
"ไม่ใช่ๆ ของหลวงปู่หลวงพ่อองค์ไหน"
"ก็หลวงปู่พรหมาน่ะสิ"
"จริงรึ"
"จริงซิ"
"แน่นะ"
"อ๋อแน๋สิ"
ผมไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินชื่อหลวงปู่พรหมา ถามพรรคพวกเพื่อนฝูงหลายสายก็ส่ายหน้าไม่รู้จักกันทุกคน

คิดจะเดินทางไปหาท่านก็แสนยาก

ฟังเขาอธิบายวิธีไปหาท่านแล้วถอดใจ

ต้องลงเรือล่องน้ำโขงไปหมู่บ้านอะไรก็ไม่รู้ ไม่เคยได้ยิน แล้วขึ้นเขาไปอีกไม่น้อยกว่า2ชั่วโมง ท่านพักอยู่บนเขานั้น


ต้องเก็บพับแผนการที่จะเดินทางไปพบหลวงปู่เอาไว้ก่อนโดยไม่มีกำหนด


หลังจากนั้นอีกเกือบเดือน หรืออาจจะ2เดือนประมาณว่าเป็นช่วงปลายของปี2533ผมก็สมหวัง

ได้พบหลวงปู่พรหมาแบบง่ายๆไม่น่าเชื่อ

ง่ายจนนึกถึงเมื่อไหร่ก็แปลกใจไม่หาย

เพราะสถานที่ได้พบท่านครั้งแรกอยู่ห่างจากบ้านของผมไม่เกิน500เมตร


สุรพลคนเดิมแจ้นมาบอกผมถึงบ้านว่า

"มีหลวงปู่มาที่อู่ซ่อมรถสมจิตร เขาว่าชื่อหลวงปู่พรหมา ไม่รู้จะเป็นพรหมาเดียวกันหรือเปล่า ไม่ลองไปดูหรือ"

"ไปซีวะ"


พอพบท่านเท่านั้นแหละก็เป็นเรื่องล่ะซี....


ปวดท้องฉี่แล้ว

ขอไปฉี่ก่อน...เดี๋ยวมา




คนกันเองทั้งนั้น

ดื่มกินตามสบาย กินไปฟังไปก็ได้

ธรรมเนียมไทยไม่ว่าจะทำอะไรเป็นกลุ่มเป็นพวกต้องมีอาหารเตรียมไว้พร้อม

ไปเที่ยวก็เตรียมไปไม่มีอดมีอยาก

จับกลุ่มคุยกันก็มีกินเหลือเฟือ กินไปคุยไป

เอาเลยครับเอาเลย


ขาหมูเจ๊ฮวงน่ะสุดยอดของอำเภอวารินฯเชียวหนา

กินให้ไขมันจุกอกตายไปโลด

ไม่ต้องกลัว

ยังไงก็ดีกว่าอดตายนะ


ถึงไหนแล้วล่ะ


ถึงอู่สมจิตรเรอะ


เอ้าผมก็โผล่พรวดพราดเข้าไปเลยสิคุณ


เจ้าที่เจ้าทางเขาไม่รู้จักเราก็ช่าง

ดูสภาพอู่ที่กำลังโกลาหลเพราะคนเต็มไปหมดก็นึกเอาว่าเหมือนกำลังเข้าไปในวัด

เป็นที่สาธารณชน หาใช่ที่ส่วนบุคคลไม่

คนค่อนข้างมากจริงๆพลุกพล่านขึ้นลงเข้าออก

ทั้งปรุงอาหารคาวหวานทั้งทุบน้ำแข็งแบกขวดน้ำอัดลม

ทั้งชงน้ำปานะ ทั้งจับกลุ่มคุยกัน ทั้งปัดกวาดเช็ดถู

โกลาหลอลหม่านขนาดนี้ก็นึกรู้แน่แก่ใจว่าหลวงปู่รูปนี้ไม่ใช่เล่น

ลูกศิษย์เยอะ

ลำพังเจ้าของอู่คงมีกันแค่ไม่กี่คน ที่เห็นจนลานตาน่ะมาจากที่อื่น มารวมกันเพราะรู้ว่าหลวงปู่มาที่นี่


ไม่เกรงใจล่ะบุกขึ้นไปบนชั้น2ที่เป็นส่วนของที่พักเจ้าของอู่หน้าตาเฉย

ชะโงกประตูเข้าไปเห็นคนนั่งสลอนเต็มห้อง

หลวงปู่นั่งติดฝาอยู่ข้างในสุด


ผิดคาดเหมือนกัน


คือนึกว่าท่านจะรูปร่างสูงใหญ่ เหมือนที่เห็นในรูปถ่าย

ตัวจริงก็เท่ากับคนทั่วไปที่มีขนาดค่อนไปทางเล็กอีกด้วย

ใบหน้าผ่องใส ดูมีตบะบารมีที่ต้องเกรงๆกันในนาทีแรก

เหมือนจะดุเอาเรื่อง

แต่พอพูดด้วยจึงทราบว่าใจดี


แปลกที่ท่านไม่ถามไม่ซักว่าผมเป็นผู้ใดหวา มาทำไม มีธุระอะไร

ท่านคุยเป็นปกติเหมือนคุยกับคนอื่นๆ ทำให้นึกเข้าข้างตนไปว่าคนอื่นก็เพิ่งมาใหม่เหมือนกูล่ะวะ


จำไม่ได้ว่าคุยกันเรื่องอะไร

คงไม่มีแก่นสารสาระอะไรจึงไม่จำ


แต่มีเรื่องเดียวที่จำได้แม่น

คือขณะนั้นมีพรรคพวกทางสุรินทร์มาโม้ว่ามีนายทุนพร้อมจะจ่ายเงิน1ล้านบาท

ถ้าหากว่าใครมีของให้เขาลองแล้วยิงไม่ออก

เลยเล่าให้ท่านฟัง

ท่านฟังเงียบๆไม่โต้ตอบอะไร

หันไปล้วงย่ามกุกๆกักๆเอาไม้ไผ่ท่อนเล็กๆ ขนาดตะกรุดเขื่องๆสักหน่อยส่งให้ผม

"กะตุดไม้ไผ่ตัน" ท่านว่า


เป็นไม้ไผ่ตันจริงๆ แต่ก็ไม่ได้นึกเฉลียวว่าไม้ไผ่ตันจะเป็นของหายากหรือว่าของพิเศษพิสดารอะไร

มีรอยจารอักขระทั่วทั้งผิวไม้ไผ่

เหมือนตะกรุดจริงๆนั่นแหละ แค่เป็นไม้ไผ่ไม่ใช่แผ่นโลหะ


ก็เลยบอกท่านว่า

"ผมจะเอาอันนี้ไปให้เขาลองยิง ถ้าได้ตังค์ล้านนึงจะเอามาถวาย"

ท่านยังคงนิ่งเงียบไม่ตอบไม่โต้สักคำ

แต่กลับจ้องหน้าผมเขม็ง

สักครู่ก็ยิ้มแล้วเอ่ยชวนผมไปเที่ยววัด

"ไปนะลูก ว่างเมื่อไหร่ไป"

ท่านอธิบายวิธีเดินทางและบอกเส้นทางอย่างละเอียดจนเป็นที่เข้าใจ

เมื่อผมรับปากท่านแล้วก็กราบลา


ส่วนเรื่องลองยิงชิงล้านนั้น

ก็เหลวเป๋วเหมือนเรื่องยิงเหล็กไหลจะให้เงินล้านนั่นเอง


คือไม่ได้มีการลองยิงกันจริง

เรื่องมันขี้โม้ทั้งนั้น พอเอาจริงก็หายไปกับสายลม

ตะกรุดไม้ไผ่ตันดอกนั้นต่อมามีคนมาขอ ก็ให้เขาไป

นึกแต่ว่าไว้ไปถึงวัดท่านเมื่อไหร่ค่อยขอเอาใหม่ก็ได้


ปรากฏว่าไม่มีอีกแล้ว


แต่ก็ยังโชคดีได้พระปิดตาไม้ไผ่ตันมาเก็บไว้แทน

คือท่านให้พวกลูกศิษย์เอาส่วนที่เป็นท่อนใหญ่เกินไปมาแกะเป็นพระปิดตา

ได้ยินว่ามีไม่ถึง20องค์

ผมได้มา4-5องค์ ตอนนี้เหลือองค์เดียวยังเก็บไว้เป็นจนทุกวันนี้


ไม้ไผ่ตันเท่าที่ได้ยินเขาเล่า เห็นว่าเป็นของพิเศษทำนองเดียวกับกะลาไม่มีตา

ถ้าเป็นไม้ไผ่ตันที่แท้ จะต้องตันทั้งกอ ตันตั้งแต่โคนยันปลาย

เสียดายที่ไม่ได้สนใจถามว่าจะไปหาไม้ไผ่ตันได้ที่ไหน

ที่ท่านเอามาทำเป็นของขลังแจกศิษย์ก็เข้าใจเอาเองว่าน่าจะได้มาจากฝั่งลาว







มาดูอีกภาพหนึ่งที่ผมถ่ายเองคราวไปวัดหลวงปู่พรหมาเมื่อต้นปี2551ถึงได้เห็นชัดๆ


มณฑปไม่ได้สร้างครอบโขดหิน

ตอนที่ถ่ายภาพก็ไม่ได้เดินลงไปดู

เลยเข้าใจผิดไป


ดูทางซ้ายมือของภาพ จะเห็นโขดหินอยู่กลุ่มหนึ่ง เมื่อก่อนไม่มีผ้าแพรสีพันไว้

เป็นแค่โขดหินธรรมชาติ



เมื่อพูดถึงโขดหินแล้วจะเล่าต่ออีกหน่อยว่า สมัยนั้นที่นี่เป็นป่าเขาไร้ผู้คน

มีแค่หลวงปู่กับลูกศิษยพระเณร3รูป ส่วนโยมชาวบ้านเมื่อหมดธุระก็กลับลงไปยังหมู่บ้านข้างล่าง

จะเหลือบางกลุ่มบางครั้งบางโอกาส

ก็เป็นพวกเป็นกลุ่มทหารลาวขาวที่ติดตามมาอาศัยอยู่ละแวกใกล้เคียงกับหลวงปู่

ถ้าไม่เรียกหา พวกเขาก็ไม่มารบกวน

ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงยังคงสภาพเดิมที่เป็นธรรมชาติร้างคนแท้ๆจริงๆ


สิ่งก่อสร้างบนวัดก็ยังไม่มี มีแค่กุฏิไม้หลังเล็กๆ8หลัง กับศาลาหลังคามุงหญ้าคาสำหรับพระฉันแล้วก็โยมอาศัยนอนได้


ตรงบริเวณโขดหินนั้นไม่ค่อยมีใครไปเพ่นพ่านนัก โดยมากจะเป็นผม ชอบไปนั่งคนเดียวเงียบๆตรงนั้น

ดูน้ำโขงทอดตัวเองหายลับเข้าไปในทิวเขา

แล้วก็นึกไปว่า สถานที่แบบนี้ มันต่างจากเมืองที่เราเคยอยู่อาศัยมาทั้งชีวิต

แต่ทำไมคนจึงอยู่กันไม่ได้

ที่อยู่ได้ก็เป็นคนอีกประเภทหนึ่ง จะเป็นประเภทที่เรียกว่าพิเศษได้หรือไม่


อย่างเช่นหลวงปู่พรหมา ท่านมาอยู่อะไรของท่านที่นี่

มันเป็นเรื่องของความสุดแสนจะกันดารลำบาก

แต่ท่านก็อยู่ได้

และ ผมก็อยู่ได้เพราะมีท่านอยู่ที่นี่ ถ้าไม่มีท่านต่อให้ตรงนี้เป็นประตูบานเดียวในโลกสำหรับคนจะขึ้นไปสวรรค์ ผมก็ไม่มา ยอมอยู่ในนรกต่อไป

นั่นเป็นความคิดในขณะนั้น ขณะที่ติดสบาย ขณะที่ยังเป็นคนเสียนิสสัย


ตรงโขดหินนี้มีแปลกอยู่อย่าง

มีทางปูด้วยกรวดเม็ดเล็กๆที่ต้นหญ้าไม่ขึ้นยาวราวๆ12เมตร ตามธรรมชาติ

เหมือนทางจงกรม

แล้วก็สะอาดสะอ้าน

ทั้งเรียบเหมือนมีคนดูแลปัดกวาดทุกวัน


ผมเห็นแปลกและเกิดความสนใจ

จึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ตรงนี้บ่อยและมากกว่าทุกแห่งบนนั้น


โขดหินก้อนนี้ผมเป็นคนเลือก และนิมนต์หลวงปู่มานั่งแล้วถ่ายรูปนั้นเอาไว้


จำได้ว่าท่านพูดถึงบังบดด้วย

ท่านว่าแถวนี้เป็นทางเทียวของพวกบังบด

ถ้าคนไม่มีศีลมีธรรมอยู่ไม่ได้

"ลูกเป็นคนมีศีล พวกเขาชอบ"

ในตอนนั้นผมมีศีล5ครบครับ

รักษาศีล5มานานกว่า3ปีก่อนพบหลวงปู่และรักษาต่อมาอีก8ปี

รวมเป็นถือศีล5อย่างเคร่งครัด11ปี เพิ่งมาทำศีลหลุดมือไปตอนกลับจากปักกิ่งปี42นี่เอง


เรื่องบังบดที่ท่านเอ่ยถึง ผมยังไม่เชื่อหรอกครับ

ท่านว่ามา ผมก็เออออไปไม่ขัดคอ


ตอนวันออกพรรษา วันที่ถ่ายรูปนั้น หลวงปู่จุดตะไล ปล่อยลงไปในเหวหลังโขดหิน

ผมไม่ได้ถามว่าทำไมต้องทำงั้น เข้าใจว่าเป็นธรรมเนียมของพระลาวต้องปฏิบัติเมื่อออกพรรษา

จำได้แค่้คำหนึ่งที่ท่านกล่าวปนเปกับเนื้อหาอื่นออกมาว่า

"พวกบังบดอยู่ข้างล่าง จุดตะไลบอกพวกเขาด้วย"

ท่านให้ผมช่วยจุด

ตกลงวันนั้นมีผมกับหลวงปู่แค่2คนเล่นตะไลสนุกไป


เมื่อเป็นเช่นนั้น บริเวณนี้ก็น่าจะเป็นสถานที่พิเศษไปกว่าทุกแห่ง

ผมจึงเรียนท่านว่าถ้าผมรวยจะสร้างเจดีย์ไว้ทางด้านโน้น

ซึ่งก็เป็นตำแหน่งตรงข้ามกับมณฑป


ในที่สุดก็ไม่ได้สร้าง กลับมีคนมาสร้างมณฑปแทน

นับว่าดียิ่งสมควรอนุโมทนากับเขา


โขดหินนี้เป็นที่ๆเดียวที่เมื่อยามนึกย้อนหลังถึงภูผานางคอย ผมจะนึกเห็นก่อน

ด้วยว่าผมเคยอาศัยหลบมานั่งภาวนาตอนกลางคืนจนแทบจะเป็นที่ผูกขาดของผมคนเดียว


จึงพูดได้เต็มปากว่าผมมีความผูกพันกับบริเวณนี้ที่สุด


แปลกที่ท่านrungrongสนใจหยิบภาพบริเวณนี้มากล่าวถึง

ไม่มีความคิดเห็น: