ประวัติโดยย่อของพระครูสุนทร  สาธุกิจ (หลวงปู่ซุน ติกขปฺญโญ)พระเกจิชื่อดังเมื่อเกือบร้อยปี

                พระครูสุนทร  สาธุกิจ  (ซุน)  หรือหลวงปู่ซุน  เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2429 บิดาชื่อ คำตัน  มารดาชื่อ  ผล เป็นบุตรคนที่ 8 ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน เกิดที่บ้านเปือย เขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด  คุณพ่อคำตันตั้งชื่อบุตรชาย  คนนี้ว่า ซุน  นามสกุล ประสงค์คุณ  เมื่อเด็กชายซุน  อายุได้  5 ขวบ  บิดา มารดา ได้พาย้ายถิ่นที่อยู่  เพื่อหาแหล่งทำกินใหม่ พร้อมกับญาติพี่น้องหลายครอบครัว มาอยู่ที่บ้านหนองเสือโฮ้ก  (บ้านเสือโก้กในปัจจุบัน)  โดยการเดินเม้ามา  เมื่ออายุ 14 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร  ที่วัดบ้านเสือโก้ก  โดยมีพระอาจารย์สีดาเป็นผู้บรรพชาให้

            เมื่อบวชเป็นสามเณรท่านได้ออกธุดงศ์เพื่อศึกษาหาความรู้  ตามสถานที่ต่างๆจนกระทั่งไปถึงใกล้เขตประเทศลาว ได้ข่าวว่ามีพระเกจิชื่อดังอยู่ที่ฝั่งลาว จึงตัดสินใจข้ามไปฝั่งประเทศลาว  เพื่อที่จะขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอาจารย์  พระอาจารย์องค์นั้นคือ  สมเด็จลุน  แห่งแขวงจำปาศักดิ์

            ด้วยความขยัน เคร่งในวินัย สามเณร ซุน (ในขณะนี้)  จึงได้รับความรู้ทั้งการเรียน และการอ่าน หนังสือภาษาขอมและลาวได้เป็นอย่างดี  พร้อมทั้งคาถาอาคมต่างๆต่อมาจึงได้กราบนมัสการลาพระอาจารย์กลับบ้านประเทศไทย

            ครั้นอายุได้ 20 ปี ครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  จึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  เมื่อปี พ.ศ. 2449 โดยมีพระครู อินทวงษาภิบาลเป็นพระอุปัชฌาย์  วัดคุ้ม ในเมืองร้อยเอ็ด มีพระอธิการ คือ วัดบ้านหนองไหล เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระอธิการ  คัมภีร์  วัดบ้าน  บาก  เป็นพระ  อนุสาวนาจารย์  เมื่อบวชเป็นพระแล้ว  ท่านก็ได้พัฒนา  บำรุงพุทธศาสนา ตลอดจนถนนหนทาง หนองน้ำเพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยของญาติโยม ทำตนเป็นที่พึ่งพิงของผู้คนทุกชนชั้น  จนเป็นที่เลื่อมใสของผู้อื่นอย่างมากมายจนได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครู สุนทรสาธุกิจ

            สืบเนื่องจากท่านไม่เป็นคนอยู่นิ่ง  ชอบพัฒนา มองกาลไกล ที่หมู่บ้านสนามในกลางป่ามีปางค์กู่เก่า มีวัตถุโบราณ ของมีค่ามากมาย และสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีผู้คนเข้ามากราบไหว้เป็นประจำแม้จะอยู่กลางป่า  ท่านจึงคิดอยากจะสร้างองค์พระพุทธรูปใหญ่ เพื่อครอบวัตถุโบราณไว้เพื่อป้องกันมิให้ศูนย์หาย  ในคืนหนึ่งท่านจึงได้มานอนพักแรมที่แห่งนี้ และได้ตั้งจิตอธิฐานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าตัวท่านขออนุญาตสร้างองค์พระใหญ่  หากว่ามีบุญบารมีพอที่จะสร้างเสร็จขอให้เข้านิมิตรหรือหากจะไม่สำเร็จประการใดขอให้ชี้แนะในนิมิตรนั้น  จนรุ่งเช้าท่านจึงได้บอกกับญาติโยมผู้ติดตามว่า เราจะสร้างพระพุทธรูปใหญ่ ณ ที่แห่งนี้  ขอให้ญาติโยมทั้งหลายบอกกล่าวต่อๆไป และจนในที่สุด ท่านก็ได้เริ่มก่อสร้างองค์พระพุทธรูปใหญ่ขึ้นในป่า  เมื่อปี พ.ศ.          และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.           โดยมีชาวบ้าน  สนาม – เสือโก้ก  บ้านใกล้เคียงและที่สำคัญคือผู้เลื่อมใสท่านทางจังหวัดร้อยเอ็ด  อย่างเจ้าของรถโดยสาร  เสี่ยประเสริฐ  (เสี่ยเซ้ง) ชื่อจริงว่า ประเสริฐ  อินทรกำแพง พร้อมทั้งครอบครัว และเพื่อนๆ มาช่วยในทุกๆด้าน  จนสร้างได้สำเร็จอย่างไม่ยากนัก  และองค์ประพุทธรูปใหญ่องค์นี้  ม่านได้ตั้งชื่อ  ปรางค์ว่า  พระพุทธนิมิต  ชินราชมัธยมพุทธกาล  ดังปรากฎเป็นหลักฐานไว้ให้ผู้คนชาวพุทธได้กราบไหว้บูชา  ตราบจนถึงทุกวันนี้  และทุกปีของวันเพ็ญเดือน 5 (คือ 15 ค่ำ เดือน 5) ของทุกๆปีจะมีประเพณีสรงกู่  ณ วัดกู่สุนทราราม  (วัดกู่สนาม) บ้านกู่สนาม  ตำบลเสือโก้ก  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  วัดกู่สนามแห่งนี้  ท่านได้ตั้งขึ้นพร้อมกับสร้างองค์พระใหญ่  และเมื่อท่านสร้างเสร็จไม่นานท่านก็เริ่มอาพาธ  และในที่สุดท่านก็ได้จากญาติโยมไปด้วยโรคชรา  มรณภาพที่วัดกู่สุนทราราม  (วัดกู่สนาม) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2504   สิริอายุได้ 76 พรรษาทั้งนี้ วัตถุมงคลของหลวงปู่ซุน ในห้วงที่ท่านยังมีชีวิต ได้รับการจัดสร้างออกมาเพียงไม่กี่รุ่น แต่ได้รับความนิยมจากนักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ซุน"


เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ซุน จัดสร้างรุ่นที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2500 มีราคาเช่าหาบูชาสูงแตะถึงหลักหมื่นแล้ว

ต่อ มา มีวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ซุน รุ่น 2 สร้างปี พ.ศ.2502 เป็นเหรียญอีกรุ่นหนึ่งของหลวงปู่ ที่สร้างขณะที่ท่านยังมีชีวิต จึงได้รับความนิยมจากนักสะสมนิยมพระเครื่องวัตถุมงคลในพื้นที่สูงไม่แพ้ เหรียญรุ่น 1

สำหรับเหรียญรุ่นปี 2502 คณะศิษยานุศิษย์บ้านเสือโก้กและบ้านสนาม ได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานฉลองอายุครบรอบ 74 ปี เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ที่มาร่วมงานได้เก็บไว้บูชาน้อมรำลึกถึงหลวงปู่ซุน

เหรียญรุ่นปี 2502 ลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงผิวไฟ จำนวนสร้างไม่น่าจะเกิน 3,000 เหรียญ

ด้าน หน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ซุนครึ่งองค์ ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า "พระครูสุนทรสาธุกิจ" ด้านล่างสุดเขียนว่า "๒๕๐๒" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

ด้านหลังเหรียญ มีลักษณะเรียบ ไม่มีขอบ แกะรูปอักขระยันต์ อ่านว่า "มะ อะ อุ นะ จะ โล สะ นะ" เป็นคาถาตั้งธาตุ

สำหรับเหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ซุน ได้ประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยวในกุฏิเป็นเวลานานนับเดือน เป็นที่โจษขานในเรื่องพุทธคุณรอบด้าน

ครั้น เมื่อถึงวันงานมุทิตาสักการะหลวงปู่ซุน ได้มีการนำออกแจกจ่ายให้กับผู้ที่มาร่วมงานทุกคน รวมทั้งมอบให้แก่ญาติโยมที่บริจาคทำบุญก่อสร้างเสนาสนะภายในวัด

เหรียญ หลวงปู่ซุน รุ่น ปี 2502 จัดเป็นเหรียญดังอีกรุ่นหนึ่งของหลวงปู่ซุน ที่ค่อนข้างหายาก ปัจจุบันราคาเช่าหาในเมืองมหาสารคาม หากเหรียญสวยคมอยู่หลักพันต้น

เหรียญหลวงปู่ซุน ปี 2502 จึงอาจกลายเป็นเหรียญยอดนิยมได้อีกหนึ่งเหรียญ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น