สิงห์มหาอำนาจ หลวงพ่อเดิม (พิมพ์นิยม 3 ขวัญปากเจาะ วรรณะฉ่ำสีผึ้ง!!!)








สิงห์มหาอำนาจ หลวงพ่อเดิม (พิมพ์นิยม 3 ขวัญปากเจาะ วรรณะฉ่ำสีผึ้ง!!!)



สิงห์มหาอำนาจ หลวพ่อเดิม วัดหนองโพ



“ไกรสรราชสีห์มีฤทธีมหาอำนาจ    พระครูนิวาสธรรมขันธ์ประสิทธิ์ขลัง

กันเขี้ยวงาก้าวหน้ามหานิยม    ด้วยอยู่คงศาตราสมญา..,สีหราชเดโช”



          เครื่องรางของขลังต่างๆ นับว่าเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็น และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนในด้านเสริมส่งดวงชะตาให้เจริญรุ่งเรือง ซื้อง่ายขายคล่อง เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันภัย แก้คุณไสย์มนต์ดำ ฯลฯ พุทธาคม กฤตยาคมที่ประจุอยู่ในนั้น ก็จะช่วยป้องกันสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งเป็นคติความเชื่อนี้ก็อยู่กับสังคมไทยมาช้านานและฝังรากลึก ชนิดที่ว่าแยกกันไม่ออกกับชีวิตประจำวันของสังคมไปแล้ว หลวงพ่อต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นักสะสมทั้งสิ้น ที่สำคัญส่วนใหญ่ท่านจะสร้างโดยใช้ของอาถรรพ์ต่าง ๆ เช่น "งาช้าง" มาแกะ เป็นรูปเสือ รูปสิงห์ รูปหนุมาน รูปลิง รูปปลัดขิก และด้ามมีดหมอ


          ราชสีห์ (อังกฤษ: Rajasiha : The Great Lion) สัตว์ในตำนาน เป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาหรือคณะ รัฐศาสตร์ และ หน่วยงานด้านการปกครองหลายแห่ง ไกรสรราชสีห์ ในตำนานพระเวสันดร มีตอนหนึ่งกล่าวถึงไกรสรราชสีห์ ในเรื่องบรรยายว่าเป็นสัตว์ทรงพลัง ผู้มีวรรณะกายเป็นสิงห์มีสีขาว  มีขนแผงคอ ริมฝีปาก ขนหาง และเล็บเป็น สีแดงดั่งผ้ารัตนกัมพล ไกรสรราชสีห์เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ ในตำนานกล่าวว่าไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังแรงกล้า นับว่าเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ และฤทธิ์เดชยิ่งกว่า  ราชสีห์ชนิดอื่นใด  และเป็นที่เกรงกลัวต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเป็นนักล่าชั้นเยี่ยมและกินสัตว์ใหญ่น้อยเป็นอาหาร

          หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ ท่านได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว หลวงพ่อเดิมท่านเรียนวิชาอาคมรวมแล้วเป็นเวลาถึง 12 ปีนับแต่บวชมา ทำให้ท่านมีความรู้มากมาย หลวงพ่อเดิมท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างทั้งพระรูปเหมือน เหรียญ มีดหมอ แหวน ของขลังประเภทงาแกะ เสื้อยันต์ราชสีห์ ผ้ายันต์ราชสีห์ (สร้างแจกสงครามอินโดจีน ประมาณปี 2484 มีทั้งสีขาว และสีแดง ดูรูปประกอบ) 

       ราชสีห์งาแกะ  หลวงพ่อเดิม เป็นเครื่องรางของขลังยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งที่หาเล่นกันแพร่หลายเป็นอย่างมาก ราชสีห์  เป็นสัตว์ในวรรณคดีชาดก เป็นสัตว์ที่มีอำนาจเหนือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง  มีถิ่นกำเนิดและพำนักอยู่บนฟากฟ้าป่าหิมพานต์ นับว่าเป็นสุดยอดเครื่องรางของท่านที่โด่นเด่นเป็นเอกลักษณ์ ควบคู่มากับ มีดหมอ และผ้ารอยเท้าของท่าน เชื่อกันว่ามีอานุภาพหลายประการทั้ง คงกระพัน กันเขี้ยวงา มหาอำนาจ เมตตามหานิยม รวมทั้งการงานก้าวหน้า เจ้านายรักใคร่  มีเรื่องเล่าสืบทอดต่อกันมาว่า เวลาท่านปลุกเสกสิงห์ในถาด และใช้ไม้จิ้มชาดแดง ชาดดำเบิกเนตรสิงห์ พร้อมกันนั้น ในขณะเพ่งสมาธิประจุพลังลงในสิงห์งาแกะ นั้นบรรดาสิงห์ทั้งหลายก็พลันกระโดดออกนอกถาดเป็นว่าเล่น

"งาช้าง" นอกจากจะมีคุณวิเศษเฉพาะตัวแล้ว ยังสามารถใช้ทดสอบพิษในอาหารได้ด้วย พระเกจิคณาจารย์หลายๆ รูปจึงมักนิยมนำมาแกะเป็นองค์พระ และเครื่องรางของขลังต่างๆ เพื่อมอบให้กับศิษยานุศิษย์และคนใกล้ชิด นำไปบูชา พกพา เพื่อเป็นสิริมงคล

(จากบทความของ คุณราช รามัญ เรื่อง การบูชาพระเครื่องตามสายอาชีพ) สิงห์ เป็นเครื่องรางที่เหมาะแก่ข้าราชการ โดยเฉพาะท่านที่เป็นข้าราชการสังกัดมหาดไทย หากคุณบูชาตามสายอาชีพแล้ว ย่อมจะทำให้การงานราบรื่นเรียบร้อย ไม่สะดุด อีกทั้งยังเป็นการเกื้อกูลหนุนดวงชะตาด้วย เพราะข้าราชการโดยมากจะมีพื้นฐานดาวอาทิตย์เด่น ซึ่งหมายถึง ยศศักดิ์หลักฐานแห่งอำนาจ คำว่าข้าราชการในที่นี้หมายถึงทุกอาชีพที่รับราชการ (ไม่เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ), ทหาร, ตำรวจ, ข้าราชการพลเรือน, ข้าราชการการเมือง

           สิงห์หลวงพ่อเดิมสามารถแบ่งตามศิลปะการแกะ ได้สองพิมพ์ คือ พิมพ์ปากเจาะ  (เซาะปากด้านข้างเข้าไป ถ้ามองจากด้านหน้าจะเห็นฟันสี่ซี่) และพิมพ์ปากนกแก้ว (มองจากด้านหน้าปากจะแหลม และแกะมีลิ้น แต่พิมพ์ปากเจาะแบบมีลิ้นก็พบเช่นกันแต่มีน้อย)



และสามารถแบ่งตามรูปทรงการแกะ ได้อีกถึง  7 พิมพ์หลัก คือ 1) ศิลป์ลอยองค์ยืนธรรมดา , 2) ศิลป์ลอยองค์ยืนยกขาตะปบเหยื่อ , 3) ศิลป์ในกรอบฉลุ (รูปทรงหัวใจ) ,  4) ศิลป์ในกรอบฉลุ (รูปทรงกรอบกระจก)  , 5) ศิลป์ในกรอบฉลุ (รูปทรงข้าวหลามตัด) , 6) ศิลป์ในกรอบฉลุ (รูปทรงกลม-รูปทรงลี-ทรงใบหอก) , 7)ศิลป์พิเศษ แกะอยู่ในพระประจำวัน งาปีนักษัตร นับว่าเป็นนักษัตรพิเศษ ลำดับที่13 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนองค์หลวงพ่อเดิมก็คงไม่ผิด และทรงอื่นๆนอกเหนือจากนี้อาจจะมีพบเห็นได้แต่ในจำนวนน้อยไม่แพร่หลาย



      ขวัญแกะเลขหนึ่งไทย (๑) บนตัวสิงห์ มีทั้งแกะเป็น 2ขวัญ (๑๑) และแกะเป็น 3 ขวัญ (๑๑๑ ตองหนึ่ง) หรือบางตัวไม่แกะขวัญเลยก็มีเช่นกัน นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งนิมิตหมายอันดี คือ ความเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร อาจเป็นความหมายที่ซ่อนไว้ตามคติธรรมของคณาจารย์ผู้ทรงปัญญาอันแยบคาย เพื่อหวังผลอันเป็นเลิศสำหรับผู้นำไปบูชา

        ศิลปะกนกปลายหางที่พบส่วนมาก จะเป็นหางลายกนกธรรมดา เจาะรูสำหรับคล้องใช้ , ศิลป์หางกนกเปลวเพลิง  , ศิลป์หางใบโพธิ์ , ศิลป์หางใบพาย , ศิลป์หางกงจักร ฯลฯ

          งาช้างที่นำมาแกะเป็นรูป  ไกรสรราชสีห์นั้นท่านกำหนดให้เอา  งาอาถรรพณ์อันได้แก่  งากำจัดและ  งากำจาย  ซึ่งถือกันว่าเป็นงาเป็น  จะมีวรรณเหลืองฉ่ำ  ผิดกับงาตาย  คืองาที่ได้จากช้างที่ตายแล้วนั่นเอง งาจำกัด  คือ งาช้างที่ตกมันแทงหักอยู่กับต้นไม้  ส่วนงากำจาย  นั่นได้แก่งาช้างที่แตกหักตกอยู่ในป่า  อาจเป็นด้วยการแทงกันเองแล้วงาเกิดแตกหักขึ้นอย่างนี้เป็นต้น

<< อุปเท่ห์การใช้สิงห์ ของหลวงพ่อเดิม มีดังนี้ครับ >>

1) ..,คงกระพันชาตรี กันเขี้ยวงาศาสตราวุธ

2) ..,เป็นมหาอำนาจ ใครเห็นก็คร้ามเกรงหวั่นไหว ไม่กล้าประทุษร้ายทำอันตรายใดๆ

3) ..,เป็นเมตตามหานิยมอย่างสูงส่ง

4) ..,ทำงานอาสาเจ้านาย หรือรับราชการจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว



หัวใจราชสีห์เขียนว่า  “สีหะนาทัง”  ภาวนาเป็นอำนาจ  และตบะเดชะ   จากนี้ยังมี  คัมภีร์นะ  108  ท่านบูรพาจารย์ยังได้รจนา  นะราชสีห์  ขึ้นมาตัวหนึ่งล้วนแต่มีอุปเท่ห์ใช้ในทางอำนาจและตบะเดชะ  เป็นที่น่าเกรงขามทั้งสิ้น  เหมาะสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ปราบปราม  ท่านว่าไว้อย่างนั้น

  

<< คาถาอาราธนา สิงห์ หลวงพ่อเดิม (ตั้งนะโม 3 จบ) >>



         “ตะโตโพธิสัตโต  ราชสิงโห  จะมหิทธิโกติ ตะมัตถังปะกาเสนโต  สัตถาอาหะ”