เหรียญนั่งพานบ้านคลอง หลวงพ่อคูณปี 2537 สภาพสวยพร้อมกล่อง



ราคา 1,990 บาท พร้อมเช่า
ตอนนี้ กำลังมาแรงครับ ราคาก็ยังไม่ได้แพงมากยังพอที่เช่าเก็บได้ ต่อไปอนาคต ราคานี้หาไม่ได้แล้วครับ
เหรียญนี้สภาพสวยผิวแดงๆยังอยู่ครบ โค๊ตตอกชัดเชน พิธีปลุกเสกสองวาระ

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง





ช่วงนั้นเนื่องจากวัดบ้านคลองเป็นวัดพัฒนาใหม่เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลจากความ เจริญพอสมควร การก่อสร้างศาลาการเปรียญที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในช่วงนั้น ทางวัดมีการไปขอแบบแปลนแบบตรีมุขจากกรมศาสนา เพื่อนำมาก่อสร้างในงบประมาณการก่อสร้าง 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) งบประมาณดังกล่าวนั้น
              ทางวัดต้องอาศัยจากศรัทธาของประชาชนโดยส่วนรวมงานครั้งนี้จึงจะสำเร็จตาม ปรารถนาของวัด และชาวบ้านจะได้ใช้ศาลาการเปรียญดังกล่าวนี้ใช้เป็นศาลาเอนกประสงค์ กล่าวคือใช้เป็นสถานศึกษาพระธรรมวินัยของภิกษุ สามเณร ใช้เป็นสถานที่ประชุมฟังธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) และบำเพ็ญกุศลในวันนักขัตฤกษ์ อันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาและส่วนรวม
             ตลอดถึงใช้เป็นที่ประชุมระดับหมู่บ้านของชาวบ้านในบางโอกาส ส่วนด้านการศึกษานั้นในพื้นที่ของวัดนี้ มีโรงเรียนระดับประถามศึกษาภาคบังคับอยู่ เรียกว่าโรงเรียนบ้านคลอง ซึ่งมีอาคารเรียน 3 หลัง เป็นอาคารเรือนไม้ 1 หลัง อาคารเรียนแบบ สปช. 2 หลัง มีจำนวนนักเรียนทั้งหมดในตอนนั้น 178 คน มีครูประจำอยู่ 8 ท่าน ในทำเลที่ตั้งของวัด และโรงเรียนเป็นที่ดอน ดินไม่อุ้มน้ำในคราวหน้าแล้งจะแล้งมากขาดแคลนเครื่องดื่่ม น้ำใช้ เป็นที่ลำบากเดือดร้อนไปทั่วหน้ากันไปทั่วทั้งวัด,โรงเรียน ตลอดจนกระทั้งชาวบ้าน
              ส่วนนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ ส่วนมากเป็นลูกหลานคนงานรับจ้างย้ายถิ่นฐานมาจากถิ่นอื่น จัดอยู่ในฐานะยากจน โดยพอสรุปได้ดังนี้คือประมาณ 85% เป็นลูกหลานคนงานที่มีฐานะยากจน 10% อยู่ในฐานะพอมีกินมีใช้ และอีก 5% ที่เหลือถือว่าทางบ้านมีฐานะค่อนข้างดี จึงทำให้ความพร้อมและโอกาสทางการศึกษาไม่ดีเท่าที่ควร จากข้อมูลดังกล่าวทางวัดจึงได้จัดทำโครงการ " อัตถจารีปรหิตบุคคล" เพื่อแก้ไขปมปัญหาให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งโครงการที่ทางวัดได้จัดทำและดำเนินการคือ

1. โครงการประปาเพื่อประชาชน คือ การเจาะน้ำบาดาล เพื่อทำประปาใช้ในชุมชนซึ่งหมายถึง วัด,โรงเรียน และหมู่บ้าน พร้อมติดตั้งเครื่องกรองน้ำสะอาด
2. โครงการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ ตั้งทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์ พร้อมอุปถัมภ์การศึกษา-ค่าใช้จ่าย
3. โครงการอาหารกลางวัน คือ มีกินตลอดปีการศึกษา โดยเด็กนักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด
4. โครงการลดภาระผู้ปกครอง คือรับเด็กอ่อนมาสอนก่อนเข้าเกณฑ์
5. ตั้งกองทุนยาประจำหมู่บ้าน เพื่อสงเคราะห์แก่คนชรา ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยไม่คิดมูลค่า ใช้ชื่อกองทุน "อัตถจารีบุคคล"
เห็นไหมละครับว่า พระอาจารย์ฉัตรชัย ซึ่งเป็นผู้ที่จัดสร้างเหรียญนั่งพาน วัดบ้านคลองนี้ ท่านเป็นพระนักพัฒนาสร้างเสนาสนะของวัดแล้ว ท่ายังช่วยเหลือสังคมอีกมาก เงินส่วนมากได้มาจากการจำหน่ายวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าวและยังได้จัดสร้างเพิ่ม เติม เช่น การสร้างโรงเรียนวัดบ้านคลอง 3 ชั้นๆละ 7 ห้อง ห้องข้างล่างเป็นที่จอดรถของเด็กนักเรียน สร้างโรงอาหารเด็กนักเรียน สร้างหอประชุมเอนกประสงค์ สร้างห้องน้ำห้องสุขา สร้างบ้านพักครู 2 หลัง สร้างสถานีอนามัยสำหรับหมู่บ้านอีกด้วย
เหรียญนั่งพานออกวัดบ้านคลองนี้ หลวงพ่อคูณ ได้ให้ความเมตตาปลุกเสกเดี่ยวให้ถึง 2 ครั้ง ซึ่งถือว่า หลวงพ่อคูณ ท่านได้ให้ความเมตตามากๆนะครับ เพราะถือว่าในช่วงนั้นเอง หลวงพ่อคูณ ท่านกำลังโด่งดังระดับประเทศ ท่านได้รับการนิมนต์เพื่อปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆเยอะมากๆ ซึ่งเหรียญนั่งพานชุดนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์ปลุกเสกที่วัดบ้านไร่เอง ทั้ง 2 ครั้งดังนี้
หลวงพ่อคูณ นั่งพาน เมตตาอุปถัมภ์สร้างโรงเรียนวัดบ้านคลอง ปี 2537

จำนวนการสร้าง และโค๊ตที่ใช้ตอกมีดังนี้
1.เหรียญนั่งพานเนื้อทองคำ สร้างจำนวน 500 เหรียญ...........หูตัน จะตอกโค๊ต 2 โค๊ต คือ ตอก ยะ ด้านบน และ นะ ด้านขวามือหลวงพ่อ
2.เหรียญนั่งพานเนื้อเงิน สร้างจำนวน 2,537 เหรียญ...........มีหู จะตอกโค๊ต 2 โค๊ต คือ ตอก นะ ด้านบน และ ยะ ด้านขวามือหลวงพ่อ
3.เหรียญนั่งพานเนื้อนวะ สร้างจำนวน 5,000 เหรียญ...........หูตัน จะตอกโค๊ต 2 โค๊ต คือ ตอก ยะ ด้านบน และ นะ ด้านข้างขวามือหลวงพ่อ
4.เหรียญนั่งพานเนื้อทองแดง สร้างจำนวน 84,000 เหรียญ............ มีหู จะใช้ทั้งโค๊ต นะ และ โค๊ต ยะ ด้านซ้ายมือหลวงพ่อ ในการตอกเหรียญ
5.เหรียญนั่งพานเนื้อทองแดงสองกษัตริย์ ........... มีหู โค๊ตและการตอกเหมือนเหรียญทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ เนื่องจากนำเหรียญทองแดงไปชุบที่จ.ชลบุรี 2 ครั้ง (ครั้งละ 150 เหรียญ รวมแล้วประมาณ 300 เหรียญครับ)
6.เหรียญนั่งพานเนื้อทองแดง แจกกรรมการ .................หูตัน ไม่มีการตอกโค๊ต จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ (น้อยมากๆ จำนวนน่าจะหลัก 10 เหรียญครับ) เนื่องจากนำเหรียญลองพิมพ์ (เป็นเหรียญที่ปั๊มก่อนเหรียญทองคำ) ด้านหลังจะเรียบ โดยหลวงพ่อคูณท่านเมตตาจารให้ เพื่อสมนาคุณให้แก่กรรมการที่มาร่วมงาน สร้างเหรียญนั่งพานรุ่นนี้ขึ้น
ปลุกเสกครั้งที่ 1 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และ
ปลุกเสกครั้งที่ 2 วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2537