ชี้ตำหนิเหรียญอาจารย์ฝั้นรุ่นแรก

               
เรื่องตำหนิจุดสำคัญ ที่จริงสามารถใช้แยก เก๊-แท้ ได้  แต่ท่านต้องเคยเห็นเคยส่องเหรียญแท้มาก่อนแล้ว จนท่านจำได้ติดตาว่า ตำหนินั้นๆ มันใช่จริงหรือไม่ เพราะเหรียญปลอมตำหนิปลอมยังทำตำหนิไม่เหมือน 100%   อย่างเช่น เส้นแตก ของปลอมแตกหนาบ้าง บางบ้าง การคดเคี้ยวหรือความพลิ้วของเส้นแตกไม่เหมือนเหรียญแท้ หรือเม็ดเนื้อตุ่มเนื้อต่างๆ ของปลอมก็อาจมีขนาดใหญ่เล็กไม่เหมือนของแท้

ขอยืนยันคอนเฟิร์มว่า ตำหนิจุดสำคัญ ยังคงใช้งานได้ในการแยก เก๊ – แท้...  แต่ท่านต้องจำตำหนิได้หมดทั้งตำแหน่งและรูปพรรณสัณฐาน ไม่ใช่ส่องเพลินตามที่หนังสือชี้ พอเห็นว่าเหรียญตัวเองก็มีตำหนิ ก็น่าจะแท้ แต่ที่จริงมันแค่มีครับ ยังไม่เหมือนจริงๆ หรอกครับ
           
                              




อีกจุดหนึ่งที่เซียนเหรียญยุคนี้ใช้เป็นจุดสยบเหรียญปลอม ก็คือ “ขอบเหรียญ”
เหรียญเก่าตั้งแต่ยุคก่อนปี 2500 จนถึงปัจจุบัน(พ.ศ.2552) มีการตัดขอบอยู่ไม่กี่แบบครับ
แบบแรก  ใช้เลื่อยฉลุ  เรียกว่า ขอบเลื่อย  
แบบที่ 2  ใช้เลื่อยแล้วนำไปปั๊มในปลอกกระบอก เรียกว่า ขอบกระบอก
แบบที่ 3  ใช้เครื่องปั๊มตัด เรียกว่า ขอบปั๊มตัด

ตัวอย่าง เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ อยุธยา ปี 2469  เป็นเหรียญเลื่อย แล้วนำไปปั๊มในปลอกกระบอก ขอบเหรียญจึงค่อนข้างเรียบ ตามขอบมีครีบเนื้อปลิ้นบางจุด ถ้าเราไปเจอเหรียญหลวงพ่อกลั่นที่มีรอยฟันตัดคมๆ ก็เสร็จครับ คือ สร้างมาผิดแบบ ก็คือ ไม่แท้นั่นเอง

ขอบเหรียญที่ปรากฏจุดสังเกตให้จดจำนำไปเตะสกัดของเก๊ ก็คือ ขอบเหรียญแบบปั๊มตัด

ขอบปั๊มตัด ที่มีรอยฟันตัด ชัดเจน มักเป็นเหรียญหลังปี 2500  อย่างเช่น เหรียญรุ่นแรก อาจารย์ฝั้น ปี 2507 

ขอบเหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่นแรก ใช้การตัดขอบด้วยเครื่อง ที่ขอบจะเห็นรอยฟันตัดเป็นเส้นขีดในแนวขวาง มีทั้งรอยแน่นละเอียด และรอยที่เป็นเส้นคมเด่นชัดขึ้นมา รอยที่เป็นเส้นคมเด่นชัดเราสามารถจดจำเป็นตำหนิส่วนตัวของเราได้ครับ เพราะทุกเหรียญจะปรากฏรอยตัดเป็นตำหนิในจุดเดียวกันในทุกๆ เหรียญ

ของปลอมยังทำรอยตัดให้เหมือนชนิด 100%  ตลอดทั้งรอบขอบเหรียญยังไม่ได้ครับ

สำหรับเหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่นแรก ได้นำรูปขอบเหรียญลงให้ศึกษาทั้งด้านซ้ายและขวา โดยมีรูปด้านละ 3 เหรียญ ให้ใช้เปรียบเทียบ

ลองค้นหา จดจำ เส้นรอยตัดไว้ใช้เป็นตำหนิส่วนตัวของท่านเองดูสิครับ...  
               
                             

                    ขอบเหรียญด้านนี้มีเนื้อปลิ้นออกมาคมมากครับ


                   

เหรียญมีด้วยกันมีอยู่2 เนื้อครับ
เนื้ออัลปาก้า  กับเนื้อ ทองแดง
เหรียญทองแดงได้รับความนิยม มากกว่าครับผม
ถ้าเหรียญสวย ก็เบียดกันมา แบบว่า 5432 ครับผม